วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฮาร์ป

           ฮาร์ป (harp) หรือ พิณ คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของตะวันตกมีเสียงเกิดขึ้นจากการใช้นิ้วดีด
สายเสียงของเครื่องดนตรีนี้ปกติแล้วมี 47 สาย และที่เหยียบเพดดัล 7 อัน เพดดัลแต่ละอันจะควบคุมสายเสียงแต่ละชุด
เช่น เพดดัล อันหนื่งจะบังคับสายเสียง C ทั้งหมดและอีกอันหนื่งจะบังคับสายเสียง D ทั้งหมด ฮาร์ปเป็นเครื่องดนตรี
เก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่ราว 3.000 ปีก่อนคริสตกาล ที่มาของเครื่องดนตรีชิ้นนี้น่าจะมาจากประเทศ
ไอยคุปต์เพราะตามภาพฝาผนังใต้สุสานของประเทศไอยคุปต์ที่เห็นจะมีรูปคนดีดพิณชนิดนี้อยู่เยอะมาก

ออร์แกน


           เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนาน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่ แตกต่างกัน
ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์

เครื่องดนตรี

คีย์บอร์ด
       
       คำว่าคีย์บอร์ดคือการเรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้นิ้วมือกดลิ่มคีย์หรือแป้นคีย์แล้วให้กำเนิดเสียงดนตรีตามบันไดเสียงของ
โน้ตดนตรีสากล 12 ขั้นเสียง จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
  1. ประเภทที่ให้เสียงแบบธรรมชาติ เช่นเปียโน Piano  ออร์แกนล pipe organแอคคอร์เดียน Accordion . เป็นต้น
  2. ประเภทที่ให้เสียงแบบไฟฟ้าในการกำเนิดเสียง เช่น อีเล็คทรอนิกส์ออร์แกนElectronicorgan หรืออีเล็คโทน Electone
    เปียโนไฟฟ้า
    Electronic piano และ ซินธิไซเซอร์ Synthesizer .เป็นต้น
   คำว่าคีย์บอร์ดที่แท้จริงแล้วเป็นการเรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีประเภท ที่กล่าวมาแต่ในความรู้สึกของคนโดยทั้วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าคีย์บอร์ดก็จะนึกถีงเครื่องดนตรีชนิดที่เป็นแบบอีเล็คทรอนิกส์ออร์แกนแบบ ชั้นเดียวที่รวมจังหวะและเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆมารวมอยู่ในเครื่องเดียวกันและสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวก ดังนั้นคีย์บอร์ดเป็นการวิวัฒนาการของเครื่องชนิดหนึ่งผสมประสานกับรูปร่างของเครื่องดนตรีประเภทซินธิไซเซอร์ เพื่อให้ผู้เล่น สะดวกสบายในการเล่นแบบคนเดียวได้ลงตัว


กีต้าร์
     
         เครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์เป็นที่นิยมมากว่า 5000 ปีเป็นอย่างต่ำ โดยเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเอเชียกลาง เรียกว่าซิตาร่า (Sitara)เครื่องดนตรีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกีตาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมี อายุ 3,300 ปี เป็นหินสลักของกวีอาณาจักรโบราณฮิตไตต์
คำ ว่ากีตาร์มาจากภาษาสเปนคำว่า guitarra ซึ่งมาจากภาษากรีกอีกทีคือคำว่า Kithara kithara จากหลายแหล่งที่มาทำให้คำว่ากีตาร์น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาตระกูลอินโดยูโร เปียน guit- คล้ายกับภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ดนตรี และ -tar หมายถึง คอร์ด หรือ สาย คำว่า qitara เป็นภาษาอาราบิก ใช้เรียก Lute lute ส่วนคำว่า guitarra เกิดขึ้นเมื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกนำมาที่ Iberia (หรือ Iberian Peninsular เป็นคาบสมุทรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทวีปยุโรป) โดย Moors
กีตาร์ ในยุคปัจจุบัน มาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า cithara ของชาวโรมัน ซึ่งนำเข้าไปแพร่หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณ ประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนกลายมาเป็น เครื่องดนตรีที่มี 4 สายเรียกว่า อู๊ด (oud) นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ในยุคที่เข้ามาครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียน ในศตวรรษที่ 8 ส่วนในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต (lute) ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวไวกิ้ง
ค.ศ. 1200 กีตาร์ 4 สาย มี 2 ประเภท คือ กีตาร่า มอ ริสกา หรือกีตาร์ของชาวมัวร์ มีลักษณะกลม ตัวคอกว้าง มีหลายรู กับกีตาร่า ลาติน่า ซึ่งรูปร่างคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน คือมีรูเดียวและคอแคบ ในศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ของชาวสเปน ที่เรียกว่าวิฮูเอล่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกีตาร์ในปัจจุบัน มีความผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอู๊ดของชาวอาหรับและลูตของยุโรป แต่ได้รับความนิยมในช่วงสั้น ๆ พบเห็นจนถึงปี 1576
เครื่อง ดนตรีชิ้นแรกที่มีรูปลักษณ์เหมือนกีตาร์ในปัจจุบัน เกิดในช่วงยุคปลายของสมัยกลางหรือยุคต้นสมัยเรอเนสซอง (500 กว่าปีที่แล้ว) เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายกันทั่วโลก ในยุคนั้นกีตาร์มีทั้งแบบ 4 และ 5 สาย สำหรับกีตาร์ที่มี 6 สาย ระบุว่ามีขึ้นในปี 1779 เป็นผลงานของนายแกตาโน วินาซเซีย (Gaetano Vinaccia) ในเมืองเนเปิล อิตาลี แต่ก็ถกเถียงกันว่าอาจเป็นของปลอมสำหรับตระกูลวินาซเซียมีชื่อเสียงในการ ผลิตแมนโดลินมาก่อน
กีตาร์ ไฟฟ้าตัวแรกเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยจอร์จ โปแชมป์ (George Beauchamp) ได้รับสิทธิบัตรในปี 1936 และร่วมกับ ริกเค่นแบ็กเกอร์ (Rickenbacker) ตั้งบริษัท Electro String Instrument ผลิตกีตาร์ไฟฟ้าในช่วงปลายปีทศวรรษที่ 1930 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 จอห์น เลนนอน สมาชิกวงเดอะบีทเทิลสใช้ กีตาร์ยี่ห้อนี้ ส่งผลให้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มนักดนตรีในยุคนั้น และในปัจจุบันบริษัทริกเค่นแบ็กเกอร์ เป็นบริษัทผลิตกีตาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

กลองชุด

            เป็น เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยกลองหลายใบ และฉาบ โดยใช้ผู้เล่นคนเดียว ถือไม้ตีกลองและฉาบทั้งสองมือ และใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง เพื่อตีกลองใหญ่ และ Cymbals กลองชุดเป็นที่นิยมใช้กับงานดนตรีเกือบทุกประเภท 

ส่วนประกอบ 

เครื่องดนตรีในกลองชุด ประกอบด้วย
  • กลองเล็ก หรือ สะแนร์ดรัม (Snare drum) ประกอบด้วยแผงลวดขึงรัดผ่านผิวหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เกิดเสียงกรอบ ๆ ดังแต๊ก ๆ ตัวกลองทำด้วยไม้หรือโลหะ และสามารถรัดให้หนังตึงด้วยขอบไม้ด้านบนและล่าง สามารถปลดสายสะแนร์เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มดังตุ้มตุ้มได้ และตีกลองเล็กด้วยไม้ นิยมใช้กลองชนิดนี้ทั้งในวงดุริยางค์และวงดนตรี
  • กลองทอม (Tom-tom drum) หรือ เทเนอร์ดรัม (Tenor drum) มีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัม เป็นกลองชนิดที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้สายสะแนร์ โดยทั่วไปบรรเลงในหมวดกลอง ใช้ไม้ชนิดหัวไม้หุ้มสักหลาด
  • กลองใหญ่ หรือ กลองเบส (Bass drum) เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยตัวกลองที่ทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้าน เสียงที่เกิดจากการตีกลองใหญ่จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ต ตีด้วยไม้ที่มีสักหลาดหุ้ม ชนิดที่มีหัวที่ปลายทั้งสองข้าง ใช้เพื่อทำเสียงรัว
  • กลองทิมปานี (หรือกลองเค็ทเทิ้ลดรัม) เป็นกลองที่มีลักษณะเป็นหม้อกระทะ ซื่งมีหน้าหนังกลองหุ้มทับอยู่ด้านบน เป็นกลองชนิดเดียวที่ขึ้นเสียงแล้วได้ระดับเสียงที่แน่นอน เมี่อคลายหรือขันหน้ากลองโดยใม่ว่าจะใช้วิธีขันสกรูหรือเหยียบเพดดัล (ที่เหยียบ) ก็ไดั ไม้ที่ใช้ตีมีการหุ้มนวมตรงหัวไม้ตี ตีได้ทั้งเป็นจังหวะและรัว
  • ฉาบ หรือ เชมเบล (Cymbal) มีอยู่2ชนิดคือฉาบที่ใช้กับกลองชุดและฉาบที่ใช้เดิน
 เบส

               คำว่า Bassline เมื่อย้อนกลับไปเมื่อราว 100 ปีที่แล้ว เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรี โดยเริ่มได้ยิน เช่นในบทเพลงของ J.S. Bach ระหว่างปี 1685-1750 ซึ่ง bassline มีความสำคัญเฉกเช่นเดียวกับในส่วนของ soprano , alto , tenor เลยที่เดียว โดยในดนตรีคลาสสิก และ ออเครสตร้า เสียงเบสจะถูกกำหนดขึ้นโดยเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า upright bass หรือ bass viola ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเบสรุ่นแรกในโลก


ต่อมาเมื่อเริ่มมีดนตรีของคนแอฟริกัน คือ Ragtime ( ดนตรีแนวเต้นรำของชาวแอฟริกัน) และ New Orleans Jazz โดยมีอุปกรณ์เสียงต่ำที่เล่นจาก brass bass และ tuba เนื่องจากเป็นการเล่นโดยใช้ลมหายใจในการเป่า ที่ใช้ tuba ในการเล่นเป็นจังหวะ 2 beat ใน 1 bar และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลง jazz และเพลงเต้นรำ

เมื่อเพลง jazz มีการพัฒนาและเกิดการวิวัฒนาการขึ้นเป็นจังหวะ swing ในปี 1935 การแต่งและการเรียบเรียงดนตรีจึงเกิดมีความซับซ้อนและยุ่งยากตามมา แต่ในขณะนั้น ได้มีในงานดนตรีที่มีชื่อเสียงในวงการเพลง jazz เช่น Duke Ellington , Count Basie and Benny Goodman และจังหวะแบบ 4 beat ใน 1 bar เริ่มเป็นที่แพร่หลายและนำไปใช้กันมากขึ้น ตั้งแต่ที่ brass bass ไม่สามารถที่จะเล่นในจังหวะนี้ได้ Acoustic upright bass จึงได้เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ขึ้นมาแทนที่ brass bass อย่างไรก็ตาม Acoustic upright bass ก็มีข้อจำกัดของมันเองอยู่เหมือนกัน ในเรื่อง ของลำตัวที่ค่อนข้างใหญ่พกพายาก และมีน้ำเสียงที่ไม่สามารถดังดีพอและเหมาะสมในการเล่นร่วมกับวงดนตรีประเภท Big band ที่มีเครื่องดนตรีหลากหลายชิ้น เช่น brass 7 ตัว ,เปียโน ,กีต้าร์ กลอง สิ่งนี้จึงมีการเกิดปัญหาต่อในหมู่คนเล่นเบส

จนต่อมาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ เบสไฟฟ้าขึ้นมาตัวแรกของโลก เบสไฟฟ้าตัวแรกของโลก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดย Clarence Leo Fender ในปี 1951 จากบริษัท Fender Musical Intrumental Company (บริษัทเดียวกับที่ผลิตกีตาร์ Fender) ร่วมกันผลิตเบสที่มีชื่อรุ่นว่า Precision bass โดย Leo Fender ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาของเบสรุ่นเก่าที่มีปัญหาในเรื่องของ เสียงและขนาดที่ใหญ่ของ Acoustic upright bass ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อรุ่นว่า Precision bass เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ที่แปลว่า "เบสที่มีความกระชับ " โดยมีการใช้เฟร็ทติดลงบน Fingerboard และ แก้ไขในเรื่องของน้ำเสียงให้ดีขึ้น


Leo Fender กล่าวว่า "พวกเราต้องให้ความเป็นอิสระแก่มือเบสจาก Acoustic upright bass''

การผลิตเบสจึงเป็นการเกิดอุตสาหกรรมการผลิตเบสขึ้นเป็นครั้งแรก โดยความร่วมมือกับ George Fullerton
Precision Bass รุ่นนี้มีการสร้างเฟรทที่ลำคอ มีลักษณะเป็น slab-bodied และ มี 34" scale ต่อมาเบสรุ่นนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีระดับโลก ในทุก ๆ แขนงทางดนตรี เช่น Monk Montgomery ,Shifti Henri ,Dave Myers


วงของ Vibist Lionel Hampton นับเป็นรุ่นแรกที่นำ P-Bass ไปใช้ในการแสดง โดยมือเบสของเขา คือ Roy Johnson และเบสตัวนี้มีเสียงที่ออกมาได้อย่างน่าทึ่งมาก จากคำวิจารณ์ของ Leonard Feather ซึ่งได้เขียนในนิตยสาร Down Beat เมื่อ 30 กรกฎาคม 1952 หลังจาก Roy Johnson ออกจากวงของ Hampton

Monk Montgomery จึงเป็นบุคคลแรกที่สามารถสร้างชื่อเสียงขึ้นจากเบสตัวนี้ แต่เขาก็ยังคงใช้ upright bass ในการเล่นควบคู่กันไปในวงของเขา กับมือกีตาร์คือ Wes Montgomery (มือกีตาร์ฝีมือดีแห่งวงการ) ซึ่งเป็นน้องชายเขา


นอกจากนี้ นักดนตรี Blues ก็นำเอาเบสรุ่นนี้ไปใช้ในบทเพลงเช่นเดียวกัน โดยในปี 1958 Dave Myers ได้นำ Precision Bass ไปใช้ในการบันทึกเสียงเบส ที่สร้างความสำเร็จให้แก่นักดนตรี Blues สมัยนั้นอย่างมากมาย โดย เขาได้พูดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1998 ว่า "ผมสร้างความประสบความสำเร็จให้กับ Fender Bass.."
 


แซกโซโฟน 

           "แซก โซโฟน" ประดิษฐ์ ขึ้นเมื่อค.ศ.1840 ที่นครปารีส โดย "อดอล์ฟ แซกซ์" (ค.ศ.1814-1894) ชาวเบลเยียม ประวัตศาสตร์ดนตรีบันทึกว่า นายวงโยธวาทิตผู้หนึ่งติดต่อแซกซ์ให้ประดิษฐ์เครื่องเป่าชนิดใดก็ได้ที่ให้ เสียงดังเพื่อใช้ในวงโยธวาทิต และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้มีเสียงคล้ายเครื่องลมไม้ด้วย แซกซ์ นำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งที่ล้าสมัยแล้ว เรียกว่า โอฟิไคลด์-ophicleide มาถอดที่เป่าอันเดิมออก แล้วเอาที่เป่าของคลาริเนตใส่แทน แก้กลไกของกระเดื่องที่ปิดรูอีกเล็กน้อย แล้วแซกโซโฟนเลาแรกของโลกก็ถือกำเนิดขึ้น


เบื้อง แรกแซกโซโฟนเป็นเครื่องดนตรีที่ก้ำกึ่งอยู่ระหว่างเครื่องลมไม้กับเครื่อง ทองเหลือง กระทั่งปราชญ์ดนตรีตัดสินให้จัดอยู่ในประเภทเครื่องลมไม้ เพราะแม้ลำตัวทำด้วยโลหะ แต่เสียงกระเดียดไปทางเครื่องลมไม้ ด้วยส่วนปากเป่าที่ประกอบด้วยลิ้นปี่ทำด้วยไม้ (แผ่นไม้อ้อ)

เสียง ของแซกโซโฟนเจิดจ้า สร้างความรู้สึกแปลกหูเหมือนการผสมผสานระหว่างเชลโล คอร์อังแกลส์ และคลาริเนต บรรเลงได้ทั้งเสียงกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือแผดจนแสบโสตประสาท จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว จากวงโยธวาทิต เดินทางสู่วงแจ๊ซ ที่สุดแซกโซโฟนก็กลายเป็นเครื่องดนตรีที่แจ๊ซจะขาดเสียมิได้ ทั้งยังเป็นที่นิยมในการบรรเลงบทเพลงคลาสสิคสมัยใหม่ไม่น้อย แซกโซโฟนมีทั้งหมด 6 ขนาด ได้แก่ โซปราริโน โซปราโน อัลโต เทเนอร์ บาริโทน และเบส


ไวโอลิน

             ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไวโอลินได้ปรากฏขึ้นเมื่อช่วงเวลาใด แต่คาดว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ผลิตนั้นดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรียุคกลาง 3 ชนิด อันได้แก่ เรเบค (rebec) ซอเรอเนซองซ์ (the Renaissance fiddle) และ ลีรา ดา บราชโช (lira da braccio) ซึ่งเครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับไวโอลิน แต่หลักฐานที่แน่นอนที่สุดก็คือ มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับไวโอลินในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) แล้ว โดยได้ตีพิมพ์ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส และคาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไวโอลินน่าจะเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปแล้ว
 
             ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลง ประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)
แต่ไวโอลินที่น่าจะเก่าแก่และโด่งดังที่สุดน่าจะเป็นไวโอลินที่มีชื่อว่า เลอ เมสซี่ (Le Messie) หรือ Salabue ประดิษฐ์โดย อันโตนิโอ สตราดีวารี เมื่อปี พ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ Ashmolean Museum แห่ง อ๊อกซฟอร์ด

ฟรุต



          เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีแรก ๆ ของโลก ฟลุทที่เป่าตามแนวนอนพบครั้งแรกที่ประเทศจีนเมื่อ 900 ปีก่อน คศ. ฟลุทได้ไปถึงยุโรปเมื่อราวปี ค.ศ. 1100 ฟลุทในช่วงปี ค.ศ. 1700 นั้นผลิตจากไม้และมีคีย์ 1-4 คีย์ ในศตวรรษที่ 19 จำนวนคีย์ได้เพิ่มเป็น 8 คีย์

ในปี ค.ศ. 1832 ผู้ผลิตเครื่องดนตรีชาวเยอรมันชื่อ Theobald Boehm ได้คิดค้นระบบการวางนิ้วของฟลุทใหม่ และเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ผลิตจากไม้เป็นโลหะ ทำให้ฟลุทสามารถเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้นและเสียงเจิดจ้าขึ้น ระบบเดียวกันนี้ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับ โอโบ คลาริเน็ต และแซกโซโฟนด้วย

ประเภทของฟลุต
ฟลุต มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา, โดยพื้นฐานแล้วฟลุตก็คือ ท่อปลายเปิดที่ถูกเป่าให้มีเสียง (เหมือนการเป่าขวด) เมื่อมีความต้องการการเครื่องดนตรีที่มีความสามารถมากขึ้น ได้ทำให้เกิดการพัฒนาจนเกิด ฟลุตตะวันตก ซึ่งมีกลุ่มของแป้นกดที่มีความซับซ้อน

ฟลุตถูกแบ่งเป็นหลายประเภท โดยส่วนใหญ่ผู้เล่นจะเป่าไปที่ขอบของฟลุตเพื่อให้เกิดเสียง อย่างไรก็ตาม ฟลุตบางประเภทอย่างเช่น ขลุ่ย, นกหวีด จะมีท่อนำลมไปยังขอบ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเล่น แต่จะทำให้ไม่สามารถควบคุมลักษณะของเสียงได้เช่นเดียวกับการผิว โดยปรกติแล้ว ขลุ่ยจะไม่ถูกเรียกว่าฟลุต ถึงแม้ว่ากายภาพ วิธีการ และเสียง จะคล้ายกับฟลุตก็ตาม

การแบ่งประเภทอีกแบบหนึ่งก็การแบ่งระหว่าง การเป่าด้านข้าง (Transverse) และการเป่าจากส่วนบน

กลุ่ม หลัก ๆ ของฟลุตประกอบไปด้วย ปิคโคโล คอนเสิร์ทฟลุต อัลโตฟลุต เบสฟลุต คอนทราเบสฟลุต ซึ่งแต่ละชนิดจะมีช่วงของเสียงแตกต่างกัน ปิคโคโลจะมีเสียงสูงกว่าฟลุต ไป 1 คู่แปด แต่การเขียวโน้ตจะเขียนเช่นเดียวกับคอนเสิร์ทฟลุต อัลโตฟลุตจะให้เสียง G (ซอล) ซึ่งต่ำกว่า C (โด) กลาง เสียงสูงที่สุดที่อัลโตฟลุตจะเล่นได้คือ G (ซอลสูง) อยู่บนเสี้นที่ 4 เหนือบรรทัด 5 เส้น เบสฟลุตจะให้เสียงต่ำกว่าคอนเสิร์ทฟลุตอยู่ 1 คู่แปด เป็นฟลุตที่ไม่ค่อยถูกนำมาเล่น มีทั้ง ฟลุตเสียงสูง ที่ให้เสียง G (ซอล) ที่ให้เสียงสูงกว่า อัลโตฟลุตอยู่ 1 คู่แปด, โซปราโนฟลุต, เทเนอร์ฟลุต ฯลฯ โดยฟลุตที่มีขนาดแตกต่างจาก ฟลุต และ ปิคโคโล บางครั้งจะถูกเรียกว่า ฮาร์โมนีฟลุต
 


อูคูเลเล่

“Ukulele” เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวฮาวายเฮี้ยน ค่ะ ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าไม่ใช่ เครื่องดนตรีสมัยใหม่แน่ๆ “Ukulele”เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 แล้ว โดยมีต้นกำเนิดจากการที่ชาวพื้นเมือง ในฮาวาย ที่ใช้วิชาครูพักลักจำ ประดิษฐ์เครื่องดนตรีเลียนแบบเครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ นามว่า “Cavaquinho”  เป็นภาษาโปรตุเกส ซึ่งชาวโปรตุเกสขนมาเล่นให้ชาวฮาวายได้ฟังกันค่ะ ต้องขอบคุณชาวโปรตุเกส ที่อุตส่าห์หอบเอาเจ้าเครื่องดนตรีนี้  ข้ามน้ำข้ามทะเลมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ชาวฮาวายเฮี้ยนนำเอาเครื่องดนตรีชนิดนี้มาประยุกต์ จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในปัจจุบันนี้ค่ะ

“Ukulele” นั้น ชาวเกาะเรียกกันห้วนๆ ว่า  “หมัดกระโดด” ซึ่งน่าจะมาจากลักษณะของนิ้วผู้เล่น ที่ต้องสลับที่กดเด้งไปมาบนคอ “Ukulele” ที่ดูแบบมีศิลปะ  และคล้ายกับตัวหมัดกำลังกระโดดไปมาบนทุ่งหญ้า ส่วนอีกศาสตร์กล่าวว่า “Ukulele” เป็นภาษาฮาวายเอี้ยน ความหมายของคำว่า “Ukulele” ถูกแยกเป็นสองคำคือ “uku” ซึ่งแปลว่า “ของขวัญหรือรางวัล” ส่วนคำว่า “lele” แปลว่า “การได้มา” ดังนั้นเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน จึงแปลความหมายได้ว่า “ของขวัญที่ได้มา” (จากชาวโปรตุเกส)   ส่วนการออกเสียงนั้น หากออกเสียงเรียกแบบคนอเมริกัน เขาเรียกว่า “ยู คะ เล ลี่” ชาวฮาวายเอี้ยน เรียกมันว่า “อู คู เล่ เล่” ส่วนนักดนตรีสมัยใหม่ขี้เกียจพูดยาว ตั้งชื่อเล่นให้มันสั้นๆ ว่า “อู๊ค”  ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม ล้วนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียวกันหมด


นอก จากจะมีหลายชื่อแล้วเจ้า “Ukulele” ก็มีหลายขนาดเหมือนกันค่ะ ขนาดของมันเริ่มตั้งแต่ soprano ซึ่งเป็นขนาดดั้งเดิม ที่เหมาะสำหรับใช้เล่นตีคอร์ดสนุกสนานค่ะ ตามด้วย concert ที่คอยาวขึ้นเพื่อใช้เล่นแบบ fingerstyle ต่อด้วย tenor ที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกขั้น พร้อมเฟร็ตที่มากขึ้น และเสียงที่ทุ้มกังวาลกว่า ปิดท้ายด้วย baritone ที่ใหญ่ที่สุด และตั้งเสียงไม่เหมือนขนาดอื่นค่ะ (ตั้งเสียงแบบสี่สายล่างของกีตาร์ปกติ)

ในช่วงแรกนั้น “Ukulele” เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้สำหรับบรรเลงเพลงฮาวายเอี้ยนขับกล่อมชาวเกาะให้ครื้น เครง โดยมีพระราชาชาวเกาะ King David Kalakaua เป็นผู้สนับสนุนใหญ่ จนใครๆ ในเกาะก็พากันเล่นเจ้าเครื่องดนตรีชนิดนนี้กันคะ  จากนั้นตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลก ครั้งที่สอง “Ukulele” ก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น และเนื่องจากขนาดอันกะทัดรัดและราคาที่ไม่แพง มันเปลี่ยนสถานะจากเครื่องดนตรีพื้นเมืองกลายเป็นเครื่องดนตรีสากล มีนักดนตรีจาก แผ่นดินใหญ่อเมริกานำมาเล่นกันหลากหลายแนวค่ะ ไม่เว้นแม้แต่ศิลปิน Jazz ความโดดเด่นในวงการเพลงของมันมาถึงจุดสุดยอดในช่วงยุค 60″s ก่อนที่ความนิยมจะเริ่มซาหายไปตามกาลเวลา จนเมื่อช่วงปลายยุค 90″s นี้เอง ที่ “Ukulele” กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งค่ะ เมื่อ Jake Shimabukuro มือ Ukulele หนุ่มน้อยเชื้อสายญี่ปุ่น-ฮาวาย นำมันมาบรรเลงเพลงร่วมสมัยด้วย ลีลามากลวดลายน่าทึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น อัจฉริยะUkulele  และศิลปิน Israel Kamakawiwo’ole (IZ)  นักดนตรีจากเกาะฮาวาย ด้วยเอกลักษณ์ตัวอ้วนใหญ่คล้ายกับยักษ์ แต่เลือกที่จะเล่น Ukulele ตัวจิ๋วเป็นเครื่องดนตรีคู่กาย IZ จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก กระแส IZ จึงเกิดมาพร้อมกับ Ukulele เพลงของ IZ ยังถูกไปใช้เป็นเพลงประกอบหนังอยู่เป็นระยะIZ ได้ร้องและเล่นบทเพลง “Over the Rainbow/What a Wonderful World” ซึ่งทำให้ผู้คนเริ่มหลงเสน่ห์ในเสียงของ ukulele เข้าอย่างจัง

เปียโน 

              เปียโนเป็นเครื่องดนตรีประเภท Keyboard มีลักษณะพิเศษเหนือกว่าเครื่อง ดนตรีอื่นใดเพราะเปียโนให้เสียงที่เป็นมาตรฐานจำนวน 88 เสียง ซึ่งมากที่สุดเมื่อ เทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยัง มีช่วงกว้างของเสียง (Range) มากกว่าเครื่อง ดนตรีอื่นๆ อีกด้วย กล่าวคือสามารถผลิตเสียง ที่มีระดับสูงมากและต่ำมากซึ่งเครื่องดนตรีชนิด อื่นไม่สามารถทำได้ ลักษณะพิเศษอีกประการ หนึ่งคือ สามารถใช้บรรเลงทั้งทำนอง (Melody) และเสียงประสาน (Harmony) ได้ในเวลา เดียวกันโดยมิต้องอาศัยเครื่องดนตรีอื่นๆ เล่น ประกอบ(Accompaniment) ตรงกันข้ามกับ เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยเปียโนเล่น ประกอบ เช่น Violin, Flute, Oboe, Bassoon, Trumpet ฯลฯ หรือแม้แต่เสียงร้อง ของมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ พิเศษมากแล้วก็ยังต้องอาศัยเปียโนเล่น ประกอบ เพื่อทำให้เสียงร้องนั้นเด่นชัดและ เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เปียโนมีระบบกลไกทำงานภายในแบบ แบบเครื่องจักร ทุกอย่างเป็นฝีมือจากมนุษย์ เป็นผู้ผลิตขึ้นทั้งสิ้น ระบบและกลไกดังกล่าวนี้ จะเปิดเผยออกโดยทางความรู้เชิงช่าง เพื่อ ตอบข้อสงสัยหรือตอบคำถามต่างๆ เราจะ ศึกษาระบบกลไกการทำงาน ระบบเสียง การ ซ่อมแซม การปรับปรุงแก้ไขและอื่นในตัวเปียโน ก่อนที่จะดำเนินการทางเชิงช่างดังกล่าวควรจะ ศึกษาประวัติความเป็นมาของเปียโน เพื่อความ เข้าใจระบบการทำงานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่ง ดังต่อไปนี้
          เปียโนเครื่องแรกที่มีกลไกการทำงานค่อน ข้างจะสมบูรณ์ สามารถผลิตเสียงเบาหรือดังได้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1726 โดยชาวอิตาเลียนชื่อ Bartolomeo Cristofori (1655-1731) ชื่อ Piano เป็นคำย่อที่ Cristofori ได้ตั้งขึ้นว่า Piano et Forte ซึ่งหมายถึง เบา และ ดัง เพราะเปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของ เสียง (Range) ถึง 88 เสียง สามารถทำเสียง เบาและดังได้โดยใช้ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที ซึ่งเครื่องดนตรี Keyboard อื่นๆ ทำไม่ได้ การที่เปียโนทำเสียงเบาและดังได้เช่นนั้น ทำให้ สามารถใช้บรรเลงเพลงซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนฟังได้อารมณ์สุนทรีย์ ประวัติความเป็นมาของเปียโนแบ่งได้เป็น 3 ยุค ซึ่งแต่ละยุคอาจจะมีการคาบเกี่ยวกันบ้าง ในเรื่องของระยะเวลาดังนี้
        - ยุคแรกอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1720- 1850 เรียกว่า Antique
        - ยุคที่สองอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1850- 1900 เรียกว่า Victorian
        - ยุคที่สามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน เรียกว่า Modern
          1. ยุค Antique Piano (1720-1850) เปียโนที่ผลิตขึ้นมาในระยะแรกๆ เพื่อ ทดลองใช้นั้นได้มีการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เรื่องของกลไกต่างๆ รวมทั้ง รูปแบบ โครงสร้าง โดยใช้วัสดุหลายชนิด วัสดุบางอย่างมีอายุการ ใช้งานสั้นมาก ส่วนทรงหรือรูปแบบบางอย่าง ไม่เป็นที่นิยมจึงเลิกผลิตในเวลาต่อมา ยุคนี้ เป็นยุคแห่งการทดลอง เพื่อจะค้นหาวิธีการ ผลิตหรือสร้างเปียโนให้ดีมีคุณภาพ และเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานต่อไป
          2. ยุค Victorian Piano (ประมาณปี 1850) เปียโนที่ผลิตขึ้นส่วนมากมีคุณภาพค่อน ข้างดี มีมาตรฐานมากขึ้น มีการทดลองใช้วัสดุที่ คงทนถาวรจนแน่ใจว่าเหมาะสมกับชิ้นส่วน ต่างๆ มากขึ้น ในยุคนี้เปียโนผลิตออกมา 3 ชนิดคือ
              2.1 Upright Piano คือ เปียโนที่มีรูป ทรงลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมทรงสูง สาย และ Soundboard จะอยู่ในแนวตั้งกับพื้น
              2.2 Square Grand Piano คือ เปียโนที่ มีรูปทรงลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า สายและ Keyboard จะอยู่ในทิศทางเดียวกัน แต่ Keyboard จะอยู่ต่ำกว่าสาย อย่างไรก็ตามทั้ง สายและ Keyboard จะวางอยู่ในตำแหน่งที่ ขนานกับพื้น ปัจจุบันเปียโนชนิดนี้ไม่ผลิตออก จำหน่ายแล้ว
              2.3 Grand Piano คือ เปียโนที่มีรูปทรง ลักษณะสวยงาม มีส่วนที่โค้งเว้าและส่วนตรง ประกอบกับลวดลายแกะสลักในส่วนที่วางโน้ต ขาทั้งสาม และส่วนที่เป็น Pedals สำหรับสาย จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ผลิตเสียง กลาง (Middle Section) และส่วนที่ผลิตเสียง สูง (Treble Section) จะวางเป็นมุมตั้งแต่ 90- 80-70 และ 60 องศาตามลำดับ (ทวนเข็ม นาฬิกา) จากโน้ตสูงสุดลงไปหาโน้ตกลางๆ ของเปียโน ส่วนสายที่ผลิตเสียงต่ำ (Bass Section) จะวางเป็นมุม 80-70-60 องศาตาม ลำดับ (ตามเข็มนาฬิกา) จากโน้ตต่ำสุดขึ้นไป ยังโน้ตกลางๆ ของเปียโน ดังนั้นสายทั้งสอง ส่วนนี้จะวางในตำแหน่งแนวองศาเอียง เข้าหากัน ทำเกิดรูปทรงรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีผล ในการประหยัดพื้นที่และดูสวยงามมากขึ้น สำหรับกลุ่มสายที่ผลิตเสียงต่ำ (Bass Section) จะวางอยู่เหนือกลุ่มสาย Middle Section ใน บางส่วน ทั้งสาย (Strings) และ Keyboard จะวางในแนวระนาบขนานกับพื้น เปียโนที่ผลิต ในยุค Victorian ทั้ง 3 ชนิดนี้จะเป็นเปียโนที่มี คุณภาพค่อนข้างดีเกือบทั้งสิ้น
          3. ยุค Modern (1900 จนถึงปัจจุบัน) เปียโนที่ผลิตหรือสร้างขึ้นในยุคใหม่นี้ได้มี การเลียนแบบการผลิตในยุค Victorian มา เกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนสัด รูปทรง โครงสร้าง หรือแม้แต่ชิ้นส่วนภายในของเปียโน ยกเว้นลวดลายหรือการแกะสลักภายนอก และ วัสดุที่ใช้ผลิตเท่านั้นที่จะไม่เหมือนกับยุค Victorian จริงๆ เพราะวิทยาการสมัยใหม่ เจริญก้าวหน้าอย่างมาก มีการทดลองค้นคว้า และคำนวณตามแนวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเสียงจะใช้วัสดุที่คงทน มีรูป แบบและขนาดที่มาตรฐาน โครงสร้างที่แน่นอน ลดความฟุ่มเฟือยหรูหรา เปลี่ยนแบบเป็นเรียบ ง่าย มีการเขียนแบบ คำนวณสัดส่วนที่ชัดเจน แน่นอน เปียโนแต่ละยี่ห้อจะมีวิศวกรออกแบบ โดยเฉพาะ ดังนั้นแต่ละยี่ห้อจะมีการแข่งขันกัน ในเรื่องของแบบและรูปทรง หรือการใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันนั้นน่าจะอยู่ที่ขนาด ความยาว ความกว้าง ความสูง ความหนา และการใช้วัสดุ เป็นส่วนประกอบเท่านั้น เปียโนในยุค Modern นี้ยังสามารถแบ่งได้ชัดเจนเป็น 2 ชนิดคือ
              3.1 Grand Piano เป็นเปียโนที่มี ตำแหน่งของ Soundboard สาย และ Key วางในแนวระนาบขนานกับพื้น มีขนาดและชื่อ เรียกแตกต่างกันออกไปดังนี้ ขนาด 5 ฟุต 8 นิ้ว หรือ 173 เซนติเมตร หรือ เล็กกว่านี้ เรียกว่า Baby Grand ขนาด 5 ฟุต 10 นิ้ว หรือ 178 เซนติเมตร เรียกว่า Living Room Grand ขนาด 6 ฟุต หรือ 183 เซนติเมตร เรียก ว่า Professional Grand ขนาด 6 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 193 เซนติเมตร เรียกว่า Drawing Room Grand ขนาด 5 ฟุต 8 นิ้ว ถึง 6 ฟุต 10 นิ้ว หรือ 203 - 208 เซนติเมตร เรียกว่า Parlour, Artist, Salon or Music Room Grand ขนาด 7 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 224 เซนติเมตร เรียกว่า Half Concert or Semi Concert Grand ขนาด 8 ฟุต 11 นิ้ว หรือ 272 เซนติเมตร หรือ ใหญ่กว่า Concert or Orchestral Concert Grand
              3.2 Vertical Grand Pianos เป็นเปียโน ที่ตำแหน่งของ Sound-board สาย วางในแนว ตั้งกับพื้น มีขนาดและชื่อเรียกตามลักษณะ ต่างๆ กำหนดเอาความสูงของเปียโนเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
                    3.2.1 Upright Pianos กำหนดเอา บริเวณ Action (อยู่ภายใน) ตั้งอยู่เหนือ Key-board โดยมีระยะความสูงจาก Keyboard โดยมีชิ้นส่วนที่เรียกว่า Stickers เป็น ตัวเชื่อมระหว่าง Key-board กับ Action ชิ้น ส่วนที่เรียกว่า Stickers นี้จะทำให้ Action อยู่ สูงกว่าปกติ ทำให้รูปทรงของเปียโนนี้สูง ดังนั้น สายของเปียโนชนิดนี้จะยาวกว่าชนิดอื่น Sound-board จะใหญ่และสูงตามไปด้วย เปียโน ชนิดนี้สามารถผลิตเสียงที่ดี ดังมากกว่าเปียโน ชนิดอื่นๆ
                    3.2.2 Console Pianos หรือบางที่เรียก ว่า Studio Upright เป็นเปียโนที่มีความสูง ขนาดกลาง สังเกตจาก Action จะพบว่าไม่มี Stickers เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Key-board กับ Action จะมีเพียง Captain Screw แทน จึง ทำให้ Action วางติดอยู่กับ Key-board เท่านั้น ดังนั้นส่วนที่เป็นสาย หรือ Soundboard จะไม่สูงเกินไป การผลิตเสียงจึงไม่ดัง มากเท่ากับ Upright Pianos
                    3.2.3 Spinet Pianos เป็นเปียโนที่มี ความสูงน้อยที่สุดในบรรดา Vertical Pianos ทั้งหมด หากสังเกต Action จะพบว่า นอกจาก ไม่มี Stickers แล้ว Action จะอยู่ต่ำกว่า fKey-board บริษัทบางแห่งสามารถจะผลิต ส่วนที่เป็น Key-board ให้มีส่วนยื่นยาวและ ห้อยลงไปรองรับส่วนที่เรียกว่า Captain Screw ใต้ Action และมีบางบริษัทผลิต Stickers เหมือนกันแต่ให้ติดอยู่ด้านหลังของ Action และอ้อมกลับมาด้านหน้าอีกครั้งเพื่อ จะให้ต่อกับ Key-board ได้ ทำให้เกิดความยุ่ง ยากมากในการซ่อมแซม Action ดังนั้นทั้งสาย และ Sound-board จึงจำเป็นต้องสั้นมากที่สุด เพราะเปียโนมีส่วนสูงน้อยดังกล่าวแล้ว การ ผลิตเสียงจึงมีความกังวานน้อยตามไปด้วย
          อาจสรุปได้ว่าเปียโนในสมัยใหม่แบ่งออก เป็น 2 ชนิด คือ Grand Piano และ Vertical Grand Piano โดยที่ Vertical Grand Piano ยังสามารถแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 ลักษณะ คือ Upright, Console และ Spinet มีการ เรียกชื่อเปียโนหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งชื่อเหล่านั้น จะบ่งบอกลักษณะของขนาด หรือไม้ที่ใช้ทำเปีย โน และการออกแบบตัวถังเปียโนมีหลาย ลักษณะเช่นเดียวกัน เช่น Spinet, Console, Upright, Baby Grand, Half Concert Grand ฯลฯ ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย มักจะ ตั้งชื่อเปียโนที่สร้างขึ้นอย่างสวยหรู โดยตั้งชื่อ ให้เกี่ยวข้องกับเปียโนชนิดที่ดีๆ ซึ่งอาจจะทำให้ ผู้คนที่พบเห็นเข้าใจผิดได้อย่างมาก เช่น คน ส่วนมากรู้ว่า Grand Piano ส่วนมากเป็น เครื่องดนตรีที่ดีกว่า Upright Piano อย่าง แน่นอน ดังนั้นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายมัก จะตั้งชื่อ Vertical Grand Piano ที่ผลิตขึ้นว่า Upright Grand, Studio Grand, Inverted Grand ซึ่งการตั้งชื่อแบบนั้นจะทำให้คนจำนวน มากเกิดสับสนและเข้าใจผิดคิดว่า Piano เหล่า นั้นมีคุณภาพดีเท่ากับ Grand Piano ซึ่งเมื่อมี การทดสอบกันจริงๆ แล้วปรากฏว่าไม่ได้เป็น ความจริงอย่างที่ได้โฆษณาไว้เลย แต่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเหมาะสมตามลักษณะของตัว เปียโนเอง